หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
ระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์  มีหน่วยพื้นฐาน  5  หน่วย  คือ

1.  หน่วยรับข้อมูล  (Input  Unit)  
        ทําหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคําสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา  เพื่อเตรียมประมวลผลข้อมูลที่ต้องการ  ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนําข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น  มีอยู่หลายประเภทด้วยกันสําหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้  
        -  คีย์บอร์ด  (Keyboard)   -  เมาส์  (Moues)      -  สแกนเนอร์ (Scanner)  \

2.  หน่วยประมวลผลกลาง  (Central  Processing  Unit)  
        ทําหน้าที่ในการคํานวณและประมวลผล  แบ่งออกเป็น  2  หน่วยย่อย  คือ  
        -  หน่วยควบคุม  ทําหน้าที่ในการดูแล  ควบคุมลําดับขั้นตอนของการประมวลผล  และการทํางานของอุปกรณ์ต่างๆ  ภายในหน่วยประมวลผลกลาง  และช่วยประสานงานระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง  กับอุปกรณ์นําเข้าข้อมูล  อุปกรณ์ในการแสดงผล  และหน่วยความจําสํารอง  
        -  หน่วยคํานวณและตรรก  ทําหน้าที่ในการคํานวณและเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ  ที่ส่งมาจากหน่วยควบคุม  และหน่วยความจํา

3.  หน่วยความจําหลัก  (Main Memory)  
          ทําหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆ  ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้  เพื่อประมวลผลและยังเก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย  ซึ่งแบ่งออกเป็น  
หน่วยความจํา  เป็นหน่วยความจําที่มีอยู่  ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์  ทําหน้าที่ในการเก็บคําสั่งหรือข้อมูล  แบ่งออกเป็น  
        -  รอม (ROM)  หน่วยความจําแบบถาวร  
        -  แรม (RAM)  หน่วยความจําแบบชั่วคราว  


4.  หน่วยความจํารอง (Secondedata Storage)  

        ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ  เพื่อนำมาใช้อีกครั้งภายหลัง  แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลและโปรแกรมที่จัดเก็บไว้จะไม่สูญหาย

        -  Disk  Drive  

        -  Hard  Drive  
        -  CD-Rom  
        -  Magnetic  Tape  
        -  Card  Reader  

5.  หน่วยแสดงผล  (Output  Unit)  
          ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัทธ์ที่ได้หลังจากการคํานวณและประมวลผล  สําหรับอุปกรณ์ที่  ทําหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้นั้นมีต่อไปนี้  
          -  Monitor  จอภาพ  
          -  Printer  เครื่องพิมพ.  
          -  Plotter  เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ  ที่ต้องการลงกระดาษ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น